ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 8
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับการแข่งขันกีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปี 2556

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 7
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันนี้เป็นสอบกลางภาค 

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 6
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พัฒนาการหยุดอยู่กับที่
2. พัฒนาการถดถอยลง
เด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าหรือทุกด้าน พัฒนาการล่าช้าด้านหนึ่งอาจส่งผลต่อพัมนาการด้านอื่นล่าช้าลง
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยด้านชีวภาพ
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคทางพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิด หรือสังเกตได้ในชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติร่วมด้วย
2. โรคทางระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่ มักมีอาการหรือการแสดงทางระบบประสาทด้วยที่พบบ่อยคือ อาการชัก
3. การติดเชื้อ การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศรีษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับ ม้ามโต ต้อกระจก การติดเชื้อรุนแรงหลังคลอด เช่น สมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
4. ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึ่ม โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี
- ตะกั่ว เป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ ภาวะตับเป็นพิษ ระดับบสติปัญญาต่ำ
- แอลกอฮอล์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศรีษะเล็ก พัฒนาการทางสติปัญญามีความบกพร่อง เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- นิโคติน น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์ เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก สติปัญญาบกพร่อง สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
อาการของเด็กมีความบกพร่องทางพัฒนาการ มีพัฒนาการล่าช้าพบมากกว่า 1 ด้าน ปฏิกิริยาสะท้อนไม่หายไป แม้ถึงช่วงอายุที่ควรหายไป
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม การเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติฝากครรภ์ประวัติเกี่ยวกับการคลอด พัฒนาการที่ผ่านมา การเล่นตามวัยการช่วยเหลือตนเองปัญหาพฤติกรรม ประวัติอื่นๆ
เมื่อซักประวัติแล้ว สามารถบอกได้ว่า
ลักษณะพัฒนาการเชื่องช้าเป็นแบบคงที่หรือถดถอย เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่อย่างไร อยู่ในระดับไหน มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการมากสาเหตุอะไร ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต ภาวะตับม้ามโต ผิวหนัง ระบบประสาท และวัดรอบศรีษะด้วยเสมอ ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุรกรรม ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4. การประเมินพัฒนาการ
สะท้อนการเรียน
        ได้ทราบเกี่ยวกับพัฒนาการในแต่ละด้านของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ ทำให้เรามีความรู้ สามารถแนะนำผู้ปกครองหรือบุคคลใกล้ชิด ให้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในการดูเด็ก เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องสำหรับเด็ก
การนำไปใช้
         สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ การทราบว่าพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นอย่างไร ทำให้เราเข้าใจเด็กมากขึ้น ทำให้เราไม่นำเด็กที่มีพัฒนาการปกติมาเปรียบเทียบกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ฉะนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องจัดตามประเภทของเด็ก เพราะจะทำให้เด็กได้พัฒนาตนตามศักยภาพที่เด็กมีอยู่

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 5
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

หมายเหตุ
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุด วันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว