ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 13
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
        เด็กกลุ่ม (Down’s syndrome) 
  - รักษาตามอาการ
  - แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
  - ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับตนปกติมากที่สุด
  - เน้นการดูแลแบบองค์รวม ( holistic approach)
         การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กดาวน์ซินโดรม ดังนี้
   1. ด้านสุขภาพอนามัย
บิดามารดาพาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่เริ่มแรก ติดตามการรักษาเป็นระยะๆ
   2. การส่งเสริมพัฒนาการ
 เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
   3. การดำรงชีวิตประจำวัน  ฝึกให้ช่วยเหลือตนเอง
   4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
  - ทางการแพทย์   การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
  - ทางการศึกษา   แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล IEP
  - ทางสังคม     การฝึกทักษะการดำรงชีวิต
  - ทางอาชีพ  โดยการฝึกอาชีพ
        การเลี้ยงดูในช่วง 3 เดือนแรก
  - การปฏิบัติของบิดา มารดา ยอมรับความจริง
  - เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้น  เช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
  - ให้ความรักและความอบอุ่น
  - การตรวจภายใน มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
  - การคุมกำเนิด การทำหมัน การสอนเพศศึกษา ตรวจโรคหัวใจ
        เด็กกลุ่มอาการ Autistic
  - การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติก ดังนี้
  - ส่งเสริมความเข้มแข้งครอบครัว  การสอนเพศศึกษาและการตรวจโรคหัวใจ
  - ส่งเสริมความสามารถของเด็ก มีบทบาทสำคัญที่สุด การสื่อความหมายทดแทน (ACC)  ส่งเสริมความสามารถของเด็ก ให้ได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย และทำกิจกรรมที่หลากหลาย
  - ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy) ปรับพฤติกรรม ฝึกทักษะทางสังคม ให้แรงเสริม
  - ดนตรีบำบัด    การฝึกพูด การสื่อความหมายทดแทน (ACC)
  - การฝังเข็ม การฝึกพูด การมีสมาธิ การฟัง การทำตามคำสั่ง
  - การบำบัดด้วยสัตว์ การรักษาด้วยยา Methylphnidate (Ritlin)ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ซน/หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
  - อาจารย์ให้นักศึกษาดูวีดีโอ เรื่อง กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กพิเศษ ของสถาบันราชานุกูล  
สะท้อนการเรียน
      ทำให้ทราบเกี่ยวกับการดูแลรักษาเด็กพิเศษ เพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษาและเข้าใจเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากขึ้น 
การนำไปใช้
      สามารถนำไปประยุกต์ใช์กับการเรียนการสอนในรายวิชาการศึกษาแบบเรียนร่วม และถ้ามีโอกาสในการที่ไปฝึกสอนที่โรงเรียนที่มีเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จะทำให้มีความรู้พื้นฐานและสามารถจัดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับเด็กพิเศษแต่ละประเภทด้วย

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 12
รายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่นำเสนองาน รายงานเรื่อง เด็กออทิสติก เมื่อเพื่อนนำเสนองานเสร็จอาจารย์ให้นักศึกษาจัดโต๊ะและสอบกลางภาค สอบเสร็จอาจารย์อนุญาตให้กลับได้

วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 11
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
หมายเหตุ   ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสถานะทางการเมืองไม่ปลอดภัย ส่งผลทำให้นักศึกษาเดินทางลำบากในการมาเรียน ดังนั้นอาจารย์จึงงดการเรียนการสอน แต่อาจารย์ได้มอบหมายงานให้นักศึกษาทุกคนสรุปงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ตามหัวข้อ ดังนี้

1. ชื่องานวิจัย/ชื่อผู้วิจัย/มหาวิทยาลัย
2. ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
3. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
5. นิยามศัพท์เฉพาะ
6. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
7. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
8. การดำเนินการวิจัย
9. สรุปผลการวิจัย
10. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่องานวิจัยชิ้นนี้

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 10
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานเป็นรายกลุ่มและแจกกระดาษให้นักศึกษาประเมินกลุ่มเพื่อนและประเมินกลุ่มของตนเอง ดังนี้
1. เด็กที่มีภาวะการเรียนบกพร่อง ( L D )
2. เด็กสมองพิการ ( C P ) (กลุ่มของดิฉัน)
3. เด็กสมาธิสั้น
4. เด็กดาวน์ซินโดรม
อาจารย์อธิบายเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ดังนี้
การประเมินที่ใช้ในเวชประวัติ
แบบทดสอบ Denver II เป็นแบบคัดกรองที่ใช้กับเด็กอายุ 1 เดือนถึง 6 ปี
Gesell Drawing เป็นวิธีทดสอบ Visual motor perception
แนวทางการดูแลรักษา
- หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
- การตรวจค้นหาความผิดปกติ
- ให้คำปรึกษากับครอบครัว
- การส่งเสริมพัฒนาการ
- การรักษาสาเหตุโดยตรง
ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. ตรวจคัดกรองพัฒนาการ
2. ตรวจประเมินพัฒนาการ
3. วินิจฉัยและหาสาเหตุ
4. การให้การรักษาและการส่งเสริมพัฒนาการ
5. การติดตามและการประเมินผลการรักษาเป็นระยะ
สะท้อนการเรียน
          ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มนำเสนองานตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ทำให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มมีการเตรียมตัว เตรียมพร้อมในการนำเสนอ เรื่องที่เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การรักษาอาการต่างๆ และอาจารย์ยังแจกใบประเมินเพื่อให้นักศึกษาประเมินการนำเสนองานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม รวมทั้งประเมินกลุ่มของตนเองด้วย ทำให้เราได้ฝึกการประเมินตามสภาพจริง
การนำไปใช้
          สามารถนำความรู้ที่เพื่อนแต่ละกลุ่มนำเสนอ ไปใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ เพราะเราเข้าใจถึงลักษณะ อาการ การรักษา ของเด็กแต่ละประเภทในเบื้องต้น ทำให้เราสามารถนำไปบูรณาการการสอนหรือการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 9
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดเทศกาลปีใหม่