ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 8
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับการแข่งขันกีฬาบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ประจำปี 2556

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 7
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากวันนี้เป็นสอบกลางภาค 

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 6
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงในการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. พัฒนาการหยุดอยู่กับที่
2. พัฒนาการถดถอยลง
เด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าหรือทุกด้าน พัฒนาการล่าช้าด้านหนึ่งอาจส่งผลต่อพัมนาการด้านอื่นล่าช้าลง
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
ปัจจัยด้านชีวภาพ
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคทางพันธุกรรม เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิด หรือสังเกตได้ในชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติร่วมด้วย
2. โรคทางระบบประสาท เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่ มักมีอาการหรือการแสดงทางระบบประสาทด้วยที่พบบ่อยคือ อาการชัก
3. การติดเชื้อ การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศรีษะเล็กกว่าปกติ อาจมีตับ ม้ามโต ต้อกระจก การติดเชื้อรุนแรงหลังคลอด เช่น สมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง
4. ความผิดปกติของระบบเมตาบอลิซึ่ม โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และภาวะขาดออกซิเจน
6. สารเคมี
- ตะกั่ว เป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ ภาวะตับเป็นพิษ ระดับบสติปัญญาต่ำ
- แอลกอฮอล์ น้ำหนักแรกเกิดน้อย มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศรีษะเล็ก พัฒนาการทางสติปัญญามีความบกพร่อง เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
- นิโคติน น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์ เพิ่มอัตราการตายในวัยทารก สติปัญญาบกพร่อง สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาการเข้าสังคม
7. การเลี้ยงดูไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
อาการของเด็กมีความบกพร่องทางพัฒนาการ มีพัฒนาการล่าช้าพบมากกว่า 1 ด้าน ปฏิกิริยาสะท้อนไม่หายไป แม้ถึงช่วงอายุที่ควรหายไป
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม การเจ็บป่วยในครอบครัว ประวัติฝากครรภ์ประวัติเกี่ยวกับการคลอด พัฒนาการที่ผ่านมา การเล่นตามวัยการช่วยเหลือตนเองปัญหาพฤติกรรม ประวัติอื่นๆ
เมื่อซักประวัติแล้ว สามารถบอกได้ว่า
ลักษณะพัฒนาการเชื่องช้าเป็นแบบคงที่หรือถดถอย เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่อย่างไร อยู่ในระดับไหน มีข้อบ่งชี้ว่ามีสาเหตุมาจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่ สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการมากสาเหตุอะไร ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือฟื้นฟูอย่างไร
2. การตรวจร่างกาย ตรวจร่างกายทั่วๆไปและการเจริญเติบโต ภาวะตับม้ามโต ผิวหนัง ระบบประสาท และวัดรอบศรีษะด้วยเสมอ ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุรกรรม ระบบการมองเห็นและการได้ยิน
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4. การประเมินพัฒนาการ
สะท้อนการเรียน
        ได้ทราบเกี่ยวกับพัฒนาการในแต่ละด้านของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ ทำให้เรามีความรู้ สามารถแนะนำผู้ปกครองหรือบุคคลใกล้ชิด ให้ปฏิบัติตนอย่างถูกต้องในการดูเด็ก เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนาการที่ถูกต้องสำหรับเด็ก
การนำไปใช้
         สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้ การทราบว่าพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษเป็นอย่างไร ทำให้เราเข้าใจเด็กมากขึ้น ทำให้เราไม่นำเด็กที่มีพัฒนาการปกติมาเปรียบเทียบกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ฉะนั้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจะต้องจัดตามประเภทของเด็ก เพราะจะทำให้เด็กได้พัฒนาตนตามศักยภาพที่เด็กมีอยู่

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 5
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

หมายเหตุ
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันหยุด วันเฉลิมพระชนพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่  4
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาโดยใช้สื่อ Power poin ในหัวข้อ ดังนี้
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
 เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้ ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตัวเองไม่ได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
2. เด็กที่ปรับตัวเข้าสังคมไม่ได้
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
- ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนและครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
- มีความคับค้องใจและมีความเก็บกดทางอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ หวาดกลัว
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เรียกย่อๆว่าเด็ก L D เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง มีปัญหาในการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
เด็กออทิสติก
     เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้ เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
เด็กพิการซ้อน
    เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการขัดข้องเกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างมาก เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งตาบอดและหูหนวก
อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO เรื่อง ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ โดยสรุปเป็นมายแม็บ
สะท้อนการเรียน
        ภาวะการเรียนรู้ที่ไม่น่าพึงพอใจ มักก่อให้เกิดความล้มเหลวทางการเรียนรู้ แล้วจะมีปัญหาเรื่องการปรับตัวทางด้านอารมณ์ตามมา เด็กที่ปัญหาเรื่องการปรับตัวทางด้านอารมณ์มาก่อน จะทำให้เกิดความขัดแย้งในใจ และความสับสนวุ่นวาย ทำให้ส่งผลกระทบให้เกิดความล้มเหลวด้านการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์จึงนับว่ามีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก หากเด็กมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เป็นปกติก็ย่อมสามารถเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองได้เป็นอย่างดี ไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนในการเรียนรู้
การนำไปใช้
       เมื่อเข้าใจลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ย่อมทำให้สามารถส่งเสริม แก้ไข ปรับปรุงพฤติกรรมของเด็ก ให้เด็กได้พัฒนาตนตามศักยภาพและความสามารถของเด็กแต่ละคน แต่ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เริ่มจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ตลอดบุคคลที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริม พัฒนาพฤติกรรมของเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข 


วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 3
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
อาจารย์เปิด VDO ให้นักศึกษาดู จากนั้นให้ตัวแทนนักศึกษาออกมาพูดเกี่ยวกับความรู้สึกที่ได้ดู VDO
อาจารย์อธิบายหัวข้อ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ โดยใช้สื่อ Power poin ดังนี้
   -  เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
   -  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขาดหายไป
   -  มีปัญหาทางระบบประสาท
   -  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. บกพร่องทางร่างกาย
2. บกพร่องทางสุขภาพ
     1.บกพร่องทางร่างกาย
        1. ซี พี แขนขาลีบ เกิดจากความเป็นอัมพาตของสมอง สมองโดนทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า อาการอัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก อัมพาตลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ อัมพาตสูญเสียการทรงตัว อัมพาตตึงแข็ง อัมพาตแบบผสม
        2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดจาก เส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายลง เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ มีความพิการซ้อนในระยะหลัง ความจำแย่ลง สมองสติปัญญาเสื่อม
        3. โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เกิดจาก กระดูกและกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น โรคเท้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อน เนื่องจากกระดูกไขสันหลังล่างไม่ติดกัน ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค กระดูกหลังโก่ง กระดูกผุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
        4. โปลิโอ มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก ส่วนมากเกิดที่ขา ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าทางปาก อาการเริ่มแรก ปวดหัว เป็นไข้ ปวดท้อง เริ่มแปดแขน ขา หลัง และขากับแขนเริ่มลีบ
        5. แขนขาด้วนแต่กำเนิด รวมในเด็กที่ร่างกายไม่สมประกอบ
        6. โรคกระดูกอ่อน หรือกระดูกผุ ร่างกายไม่สมส่วน ขายาว ตัวสั้น
2. บกพร่องทางสุขภาพ
        โรคลมชัก เกิดจากความผิดปกติของระบบสมอง
        1. ลมบ้าหมู ถ้าชักจะหมดสติกล้ามเนื้อเกร็ง แขนขากระตุก กัดฟันกัดลิ้น
        2. การชักในเวลาสั้นๆ 5-10 วินาที
        3. อาการชักแบบรุนแรง เมื่อเกิดอาการจะส่งเสียง หมดสติ กล้ามเนื้อเกร็ง 2-5 นาที
        4. อาการชักแบบ Partial Complex เกิดอาการเป็นระยะๆ บางคนโกรธหรือโมโห เดินไปมา หลังชักอาจจำเหตุการณ์ไม่ได้
        5. อาการไม่รู้ตัว เกิดขึ้นในระยะหลัง ไม่รู้สึกตัว เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย ไม่มีอาการชัก
        โรคระบบทางเดินหายใจ
        โรคเบาหวาน
        โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
        โรคศรีษะโต
        โรคหัวใจ
        โรคมะเร็ง
        โรคเลือดไหลไม่หยุด
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
        - มีปัญหาในการทรงตัว
        - ท่าเดินคล้ายกรรไกร
        - เดินขากะเพลก
        - ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
        - มักบ่นเจ็บหน้าอก ปวดหลัง
        - หน้าแดงง่าย
        - กระหายน้ำเกินกว่าเหตุ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
        เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะยังพัฒนาไม่เติมที่ มีอากัปกิริยาผิดปกติขณะพูด
        1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง ออกเสียงผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม
        2. ความผิดปกติด้านจังหวะ เช่น พูดรัว พูดติดอ่าง
        3. ความผิดปกติด้านเสียง ระดับเสียง คุณภาพของเสียง
        4. ความผิดปกติด้านการพูดและภาษา เนื่องมาจากพยาธิสภาพทางสมอง
           4.1 Motor aphasia เข้าใจคำถาม คำสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก พูดช้าๆ บอกชื่อสิ่งของพอได้ พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
           4.2 Wernicke aphasia เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม คำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย ออกเสียงไม่ติดขัด มักใช่คำผิดๆ
           4.3 Conduction aphasia เด็กที่ออกเสียงไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดกับอัมพาตร่างกายซีกขวา
           4.4 Nominai aphasia ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อไม่ได้เพราะลืมชื่อ
           4.5 Global aphasia ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน พุดไม่ได้เลย
           4.6 Sensory agraphia เด้กเขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุไม่ได้
           4.7 Motor agraphia เขียนตามตัวพิมพ์ไม่ได้ เขียนตามคำบอกไม่ได้
           4.8 Contical alexia เด็กที่อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา
           4.9 Motor alexia เด็กที่เข้าใจความหมายแต่อ่านออกเสียงไม่ได้
           4.10 Gerstmann sydome ไม่รู้ชื่อนิ้ว ไม่รู้ซ้ายขวา คำนวณไม่ได้ เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก
           4.11 Visual agnosia เด็กมองเห็นวัตถุแต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
           4.12 Auditory เด้กที่ไม่บกพร่องทางการได้ยิน แต่แปลความหมายของคำหรือประโยคไม่ได้
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
           - ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ
           - ไม่อ้อแอ้ภายใน 10 เดือน
           - หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กที่ยังไม่เข้าใจยาก
           - หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถม
           - มีปัญหาในการสื่อสาร พูดตะกุกตะกัก
           - ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย  
สะท้อนการเรียน
          ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จะพบว่าร่างกายและสุขภาพที่ดีก็ช่วยให้มีการเรียนรู้ที่ราบรื่น ส่วนคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพก็ต้องมาเสียพลังงาน ความสนใจอยู่ในเรื่องร่างกายและสุขภาพ มากกว่าการเรียนรู้ เพราะความบกพร่องทำให้เด็กต้องได้รับการักษาพยาบาล หรือเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ จึงขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง เด็กได้รับผลกระทบจากสาเหตุความบกพร่อง ทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาตนได้อย่างเต็มที่
การนำไปใช้
         ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรคำนึงในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของความบกพร่องของเด็กแต่ละคน ดังนั้นจึงต้องมีวัสดุ อุปรณ์ ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กได้ทำกิจกรรมเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป

  


วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 2
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
 
การเรียนการสอน
- อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆเท่าๆกัน จำนวน 5 กลุ่ม ดังนี้
1. เด็ก ซี.พี. (กลุ่มของดิฉัน)
2. เด็กดาวซินโดรม
3. เด็กออทิสติก
4. เด็กสมาธิสั้น
5. เด็กแอลดี  
- อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้สื่อ Power poin ดังนี้
ความหมายของที่มีความต้องการเด็กพิเศษ
1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า เด็กพิการ สมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญาและจิตใจ
2. ทางการศึกษา เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติ ทางด้นเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
สรุปความหมายของที่มีความต้องการเด็กพิเศษ
- เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถเท่าที่ควร จากการให้ความช่วยเหลือและการสอนตามปกติ
- มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปํญญาและอารมณ์
- จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู
- จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละคน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกทั่วๆไปว่า เด็กปัญญาเลิศ
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความบกพร่อง กระทรวงศึกษาธิการได้แบ่งประเภทเป็น 9 ประเภท
    1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
    2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
    3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
    4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
    5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
    6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
    7. เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
    8. เด็กออทิสติก
    9 เด็กพิการซ้ำซ้อน
     เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีระดับบสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้าและเด็กปัญญาอ่อน
       เด็กเรียนช้า สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้ เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ ขาดทักษะในการเรียนรู้ มีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย ระดับสติปัญญาประมาณ 71-90
       สาเหตุของการเรียนช้า
         1. ปัจจัยภายนอก เศรษฐกิจของครอบครัว การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก สภาวะทางด้านอารมณ์ของครอบครัว การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
         2. ปัจจัยภายใน พัฒนาการช้า สาเหตุหลัก คือ ด้านร่างกาย การเจ็บป่วย
      เด็กปัญญาอ่อน เด็กที่มีภาวะพัฒนาการหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาต่ำ มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
       เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญาได้ 4 กลุ่ม
       1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20 ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะต่างๆได้เลย ต้องการดูแลเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
       2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก  IQ 20-23 ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน
       3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49 ฝึกอบรมและเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นได้
       4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 เรียนระดับประถมได้ 
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
       - ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย 
       - ช่วงความสนใจสั้น
       - ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
       - อวัยวะบางส่วนมีความผิดปกติ
       - ช่วยตัวเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
เด็กบกพร่องทางการได้ยิน มี 2 ประเภท ดังนี้
       1. เด็กหูตึง เป็นเด็กที่สูญเสียการได้ยิน สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟัง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
         1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินระหว่าง 26-40 เดซิเบล
         2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินระหว่าง 41-55 เดซิเบล มีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุย
         3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินระหว่าง 56-70 เดซิเบล มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน เสียงดังเต็มี่ก็ไม่ได้ยิน
        4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินระหว่าง 71-90 เดซิเบล ได้ยินเฉพาะเสียงใกล้หูระยะ 1 ฟุต
       2. เด็กหูหนวก ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 เดซิเบลขึ้นไป เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
       - ไม่ตอบสนองเสียงพูด มักตะแคงหูฟัง
       - ไม่พูด มักแสดงท่าทาง พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
       - พูดเสียงต่ำหรือดังเกินไป
       - เวลาฟังมักจะมองปากผู้พูดหรือจ้องหน้าผู้พูด
เด็กบกพร่องทางการมองเห็น เด็กที่มองไม่เห็นหรือเห็นแสงเลือนลาง มีความบกพร่องทางสายตาทั้ง 2 ข้าง สามารถมองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา จำแนกเป็น 2 ประภท คือ เด็กตาบอดและเด็กตาบอดไม่สนิท
        เด็กตาบอด เด็กที่มองไม่เห็นหรือมองเห็นได้บ้าง ใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
        เด็กตาบอดไม่สนิท สามารถมองเห็นได้บ้าง แต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ 
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการเห็น
       - เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
       - มักบ่นว่าปวดศรีษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันคา
       - ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน 
       - มีความลำบากในการจำและแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต
สะท้อนการเรียน
         ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย จดบันทึกเรื่องที่เรียน เรื่องที่อาจารย์สอนทำให้เราทราบเกี่ยวกับประเภทของเด็กพิเศษ อาการต่างๆ ลักษณะของเด็กพิเศษ ทำให้เรามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพิเศษมากขึ้น
การนำไปใช้
         สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในรายวิชานี้ไปประยุกต์ใช้กับวิชาการเรียนร่วมได้ เพราะเนื้อหามีความสอดคล้องและคล้ายคลึงกัน ทำให้เรามีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคตเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้ 

     


     ุ

วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 1
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน

อาจารย์แจกแนวการสอน (Course Syllabus) พร้อมทั้งชี้แจงการละเอียดต่างๆ ให้นักศึกษาทราบ เกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย เกณฑ์การให้คะแนนกิจกรรมที่ทำในชั้นเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาทำมายแม็บ หัวข้อ เรื่องเด็กพิเศษ พร้อมตกแต่งผลงานให้สวยงาม 
จากนั้นอาจารย์ขอตัวแทนนักศึกษานำเสนอผลงาน 2 คน นำเสนอหน้าชั้นเรียน


มายแม็บ หัวข้อ เด็กพิเศษ
สะท้อนการเรียน
      มีการเตรียมตัวในการเรียน คือ ค้นคว้าหนังสือจากห้องสมุดเกี่ยวกับวิชาที่จะเรียน ชื่อหนังสือ การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษระดับปฐมวัย ทำความเข้าใจก่อนเข้าเรียน ทำให้ทราบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาพิเศษ ประวัติความเป็นมาของการจัดการศึกษาพิเศษ ความหมายของเด็กพิเศษ ประเภทของเด็กพิเศษ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพิเศษ รวมทั้งได้ทราบเกี่ยวกับบุคคลที่เป็นบิดาแห่งการศึกษาพิเศษ คือ อิทาร์ (Itard) ซึ่งเป็นแพทย์ชาวฝรั่งเศษ
การนำไปใช้
      การวางแผนและแบ่งเวลาในการทำงานที่ได้รับมอบหมายสามารถนำไปใช้ในวิชาชีพในอนาคตได้ รวมทั้งเป็นพื้นฐานในการที่จะพัฒนาตนเองในด้านการเรียนการสอน