ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่  4
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
วันนี้อาจารย์อธิบายเนื้อหาโดยใช้สื่อ Power poin ในหัวข้อ ดังนี้
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
 เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้ ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตัวเองไม่ได้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
2. เด็กที่ปรับตัวเข้าสังคมไม่ได้
ผลกระทบที่เกิดขึ้น
- ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ
- รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนและครูไม่ได้
- มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
- มีความคับค้องใจและมีความเก็บกดทางอารมณ์
- แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ หวาดกลัว
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
เรียกย่อๆว่าเด็ก L D เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง มีปัญหาในการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
เด็กออทิสติก
     เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมาย พฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้ เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเองติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
เด็กพิการซ้อน
    เด็กที่มีความบกพร่องมากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาในการขัดข้องเกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างมาก เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด เด็กที่ทั้งตาบอดและหูหนวก
อาจารย์ให้นักศึกษาดู VDO เรื่อง ห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษ โดยสรุปเป็นมายแม็บ
สะท้อนการเรียน
        ภาวะการเรียนรู้ที่ไม่น่าพึงพอใจ มักก่อให้เกิดความล้มเหลวทางการเรียนรู้ แล้วจะมีปัญหาเรื่องการปรับตัวทางด้านอารมณ์ตามมา เด็กที่ปัญหาเรื่องการปรับตัวทางด้านอารมณ์มาก่อน จะทำให้เกิดความขัดแย้งในใจ และความสับสนวุ่นวาย ทำให้ส่งผลกระทบให้เกิดความล้มเหลวด้านการเรียนรู้ ด้วยเหตุนี้ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์จึงนับว่ามีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก หากเด็กมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เป็นปกติก็ย่อมสามารถเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองได้เป็นอย่างดี ไม่ก่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนในการเรียนรู้
การนำไปใช้
       เมื่อเข้าใจลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ย่อมทำให้สามารถส่งเสริม แก้ไข ปรับปรุงพฤติกรรมของเด็ก ให้เด็กได้พัฒนาตนตามศักยภาพและความสามารถของเด็กแต่ละคน แต่ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือกับบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เริ่มจากพ่อ แม่ ผู้ปกครอง ตลอดบุคคลที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริม พัฒนาพฤติกรรมของเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น