ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 2
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
 
การเรียนการสอน
- อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆเท่าๆกัน จำนวน 5 กลุ่ม ดังนี้
1. เด็ก ซี.พี. (กลุ่มของดิฉัน)
2. เด็กดาวซินโดรม
3. เด็กออทิสติก
4. เด็กสมาธิสั้น
5. เด็กแอลดี  
- อาจารย์อธิบายเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โดยใช้สื่อ Power poin ดังนี้
ความหมายของที่มีความต้องการเด็กพิเศษ
1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า เด็กพิการ สมรรถภาพอาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญาและจิตใจ
2. ทางการศึกษา เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติ ทางด้นเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
สรุปความหมายของที่มีความต้องการเด็กพิเศษ
- เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถเท่าที่ควร จากการให้ความช่วยเหลือและการสอนตามปกติ
- มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปํญญาและอารมณ์
- จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ บำบัด ฟื้นฟู
- จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละคน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความสามารถสูง มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกทั่วๆไปว่า เด็กปัญญาเลิศ
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะความบกพร่อง กระทรวงศึกษาธิการได้แบ่งประเภทเป็น 9 ประเภท
    1. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
    2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
    3. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
    4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
    5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
    6. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
    7. เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
    8. เด็กออทิสติก
    9 เด็กพิการซ้ำซ้อน
     เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีระดับบสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้าและเด็กปัญญาอ่อน
       เด็กเรียนช้า สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้ เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ ขาดทักษะในการเรียนรู้ มีความบกพร่องทางสติปัญญาเล็กน้อย ระดับสติปัญญาประมาณ 71-90
       สาเหตุของการเรียนช้า
         1. ปัจจัยภายนอก เศรษฐกิจของครอบครัว การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก สภาวะทางด้านอารมณ์ของครอบครัว การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
         2. ปัจจัยภายใน พัฒนาการช้า สาเหตุหลัก คือ ด้านร่างกาย การเจ็บป่วย
      เด็กปัญญาอ่อน เด็กที่มีภาวะพัฒนาการหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาต่ำ มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
       เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญาได้ 4 กลุ่ม
       1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20 ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะต่างๆได้เลย ต้องการดูแลเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
       2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก  IQ 20-23 ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน
       3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49 ฝึกอบรมและเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นได้
       4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70 เรียนระดับประถมได้ 
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
       - ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย 
       - ช่วงความสนใจสั้น
       - ความคิดและอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
       - อวัยวะบางส่วนมีความผิดปกติ
       - ช่วยตัวเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
เด็กบกพร่องทางการได้ยิน มี 2 ประเภท ดังนี้
       1. เด็กหูตึง เป็นเด็กที่สูญเสียการได้ยิน สามารถรับข้อมูลได้โดยใช้เครื่องช่วยฟัง แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
         1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินระหว่าง 26-40 เดซิเบล
         2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินระหว่าง 41-55 เดซิเบล มีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุย
         3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินระหว่าง 56-70 เดซิเบล มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน เสียงดังเต็มี่ก็ไม่ได้ยิน
        4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินระหว่าง 71-90 เดซิเบล ได้ยินเฉพาะเสียงใกล้หูระยะ 1 ฟุต
       2. เด็กหูหนวก ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 เดซิเบลขึ้นไป เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
       - ไม่ตอบสนองเสียงพูด มักตะแคงหูฟัง
       - ไม่พูด มักแสดงท่าทาง พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
       - พูดเสียงต่ำหรือดังเกินไป
       - เวลาฟังมักจะมองปากผู้พูดหรือจ้องหน้าผู้พูด
เด็กบกพร่องทางการมองเห็น เด็กที่มองไม่เห็นหรือเห็นแสงเลือนลาง มีความบกพร่องทางสายตาทั้ง 2 ข้าง สามารถมองเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา จำแนกเป็น 2 ประภท คือ เด็กตาบอดและเด็กตาบอดไม่สนิท
        เด็กตาบอด เด็กที่มองไม่เห็นหรือมองเห็นได้บ้าง ใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
        เด็กตาบอดไม่สนิท สามารถมองเห็นได้บ้าง แต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ 
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการเห็น
       - เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
       - มักบ่นว่าปวดศรีษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันคา
       - ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน 
       - มีความลำบากในการจำและแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปทรงเรขาคณิต
สะท้อนการเรียน
         ตั้งใจฟังอาจารย์บรรยาย จดบันทึกเรื่องที่เรียน เรื่องที่อาจารย์สอนทำให้เราทราบเกี่ยวกับประเภทของเด็กพิเศษ อาการต่างๆ ลักษณะของเด็กพิเศษ ทำให้เรามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพิเศษมากขึ้น
การนำไปใช้
         สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียนในรายวิชานี้ไปประยุกต์ใช้กับวิชาการเรียนร่วมได้ เพราะเนื้อหามีความสอดคล้องและคล้ายคลึงกัน ทำให้เรามีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และนำมาประยุกต์ใช้ในอนาคตเกี่ยวกับการเรียนการสอนได้ 

     


     ุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น