ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนสัปดาห์ที่ 3
รายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

การเรียนการสอน
อาจารย์เปิด VDO ให้นักศึกษาดู จากนั้นให้ตัวแทนนักศึกษาออกมาพูดเกี่ยวกับความรู้สึกที่ได้ดู VDO
อาจารย์อธิบายหัวข้อ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ โดยใช้สื่อ Power poin ดังนี้
   -  เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
   -  อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งขาดหายไป
   -  มีปัญหาทางระบบประสาท
   -  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
แบ่งได้ 2 ประเภท ดังนี้
1. บกพร่องทางร่างกาย
2. บกพร่องทางสุขภาพ
     1.บกพร่องทางร่างกาย
        1. ซี พี แขนขาลีบ เกิดจากความเป็นอัมพาตของสมอง สมองโดนทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า อาการอัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก อัมพาตลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ อัมพาตสูญเสียการทรงตัว อัมพาตตึงแข็ง อัมพาตแบบผสม
        2. กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดจาก เส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายลง เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ มีความพิการซ้อนในระยะหลัง ความจำแย่ลง สมองสติปัญญาเสื่อม
        3. โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เกิดจาก กระดูกและกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น โรคเท้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อน เนื่องจากกระดูกไขสันหลังล่างไม่ติดกัน ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค กระดูกหลังโก่ง กระดูกผุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
        4. โปลิโอ มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก ส่วนมากเกิดที่ขา ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา เกิดจากเชื้อไวรัสเข้าทางปาก อาการเริ่มแรก ปวดหัว เป็นไข้ ปวดท้อง เริ่มแปดแขน ขา หลัง และขากับแขนเริ่มลีบ
        5. แขนขาด้วนแต่กำเนิด รวมในเด็กที่ร่างกายไม่สมประกอบ
        6. โรคกระดูกอ่อน หรือกระดูกผุ ร่างกายไม่สมส่วน ขายาว ตัวสั้น
2. บกพร่องทางสุขภาพ
        โรคลมชัก เกิดจากความผิดปกติของระบบสมอง
        1. ลมบ้าหมู ถ้าชักจะหมดสติกล้ามเนื้อเกร็ง แขนขากระตุก กัดฟันกัดลิ้น
        2. การชักในเวลาสั้นๆ 5-10 วินาที
        3. อาการชักแบบรุนแรง เมื่อเกิดอาการจะส่งเสียง หมดสติ กล้ามเนื้อเกร็ง 2-5 นาที
        4. อาการชักแบบ Partial Complex เกิดอาการเป็นระยะๆ บางคนโกรธหรือโมโห เดินไปมา หลังชักอาจจำเหตุการณ์ไม่ได้
        5. อาการไม่รู้ตัว เกิดขึ้นในระยะหลัง ไม่รู้สึกตัว เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย ไม่มีอาการชัก
        โรคระบบทางเดินหายใจ
        โรคเบาหวาน
        โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
        โรคศรีษะโต
        โรคหัวใจ
        โรคมะเร็ง
        โรคเลือดไหลไม่หยุด
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
        - มีปัญหาในการทรงตัว
        - ท่าเดินคล้ายกรรไกร
        - เดินขากะเพลก
        - ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
        - มักบ่นเจ็บหน้าอก ปวดหลัง
        - หน้าแดงง่าย
        - กระหายน้ำเกินกว่าเหตุ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
        เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะยังพัฒนาไม่เติมที่ มีอากัปกิริยาผิดปกติขณะพูด
        1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง ออกเสียงผิดเพี้ยนจากภาษาเดิม
        2. ความผิดปกติด้านจังหวะ เช่น พูดรัว พูดติดอ่าง
        3. ความผิดปกติด้านเสียง ระดับเสียง คุณภาพของเสียง
        4. ความผิดปกติด้านการพูดและภาษา เนื่องมาจากพยาธิสภาพทางสมอง
           4.1 Motor aphasia เข้าใจคำถาม คำสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก พูดช้าๆ บอกชื่อสิ่งของพอได้ พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
           4.2 Wernicke aphasia เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม คำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย ออกเสียงไม่ติดขัด มักใช่คำผิดๆ
           4.3 Conduction aphasia เด็กที่ออกเสียงไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดกับอัมพาตร่างกายซีกขวา
           4.4 Nominai aphasia ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อไม่ได้เพราะลืมชื่อ
           4.5 Global aphasia ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน พุดไม่ได้เลย
           4.6 Sensory agraphia เด้กเขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถามหรือเขียนชื่อวัตถุไม่ได้
           4.7 Motor agraphia เขียนตามตัวพิมพ์ไม่ได้ เขียนตามคำบอกไม่ได้
           4.8 Contical alexia เด็กที่อ่านไม่ออกเพราะไม่เข้าใจภาษา
           4.9 Motor alexia เด็กที่เข้าใจความหมายแต่อ่านออกเสียงไม่ได้
           4.10 Gerstmann sydome ไม่รู้ชื่อนิ้ว ไม่รู้ซ้ายขวา คำนวณไม่ได้ เขียนไม่ได้ อ่านไม่ออก
           4.11 Visual agnosia เด็กมองเห็นวัตถุแต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
           4.12 Auditory เด้กที่ไม่บกพร่องทางการได้ยิน แต่แปลความหมายของคำหรือประโยคไม่ได้
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
           - ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ
           - ไม่อ้อแอ้ภายใน 10 เดือน
           - หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กที่ยังไม่เข้าใจยาก
           - หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถม
           - มีปัญหาในการสื่อสาร พูดตะกุกตะกัก
           - ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย  
สะท้อนการเรียน
          ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จะพบว่าร่างกายและสุขภาพที่ดีก็ช่วยให้มีการเรียนรู้ที่ราบรื่น ส่วนคนที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพก็ต้องมาเสียพลังงาน ความสนใจอยู่ในเรื่องร่างกายและสุขภาพ มากกว่าการเรียนรู้ เพราะความบกพร่องทำให้เด็กต้องได้รับการักษาพยาบาล หรือเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ จึงขาดโอกาสที่จะเรียนรู้และการพัฒนาตนเอง เด็กได้รับผลกระทบจากสาเหตุความบกพร่อง ทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาตนได้อย่างเต็มที่
การนำไปใช้
         ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรคำนึงในการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของความบกพร่องของเด็กแต่ละคน ดังนั้นจึงต้องมีวัสดุ อุปรณ์ ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้เด็กได้ทำกิจกรรมเหมือนกับเด็กปกติทั่วไป

  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น